top of page

4 สิ่งที่ SEO Specialist ปวดหัวอยู่เสมอ อยากทำงานสายนี้ต้องรู้

รูปภาพนักเขียน: My Boost SEOMy Boost SEO

อัปเดตเมื่อ 8 ม.ค.


อยากเป็น SEO Specialist ต้องรู้อะไร

ก่อนที่คุณจะอยากเป็น SEO Specialist คุณต้องรู้ก่อนว่ามีเรื่องไหนที่คุณควรทำใจ และหาวิธีป้องกันเอาไว้ เพราะตำแหน่งงานนี้เป็นตำแหน่งที่มีความเสี่ยง หากคุณเข้าไปทำงานในองค์กรที่ไม่เข้าใจขั้นตอนงานของคุณ วันนี้พวกเราทีม My Boost SEO จะมาเล่าเรื่องเหล่านี้ให้ฟังครับ


เลือกอ่านเฉพาะส่วนที่คุณอยากอ่าน


SEO Specialist คืออะไร ทำไมชื่อตำแหน่งเท่ขนาดนี้

ตำแหน่งงาน SEO Specialist คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ SEO (Search Engine Optimize) หรือการทำให้แพลตฟอร์มอื่น ๆ ติดอันดับในผลการค้นหา โดยช่องทางหลักจะเป็นเว็บไซต์ อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังมีการให้ความสำคัญกับ YouTube และ Facebook อีกด้วย โดยตำแหน่งอาชีพนี้จะมีความสามารถในการจัดการ แก้ไข ปรับแต่ง และการวิเคราะห์แนวทางที่จะทำให้ติดอันดับได้


โดยคำว่า “Specialist” ที่ตามหลังมานั้นไม่ใช่แค่คำเท่ ๆ เท่านั้น แต่ยังมีความหมายถึง “ความเฉพาะทาง” ของแต่ละบุคคลด้วย หรือจะบอกว่า SEO Specialist แต่ละคนไม่เหมือนกัน มีสิ่งที่ถนัด และสิ่งที่ไม่ถนัดแล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละคนนั่นเอง เช่น คนหนึ่งเก่งเรื่องการทำบทความ SEO แต่ไม่เก่งเรื่องการทำ Backlinks ในขณะที่อีกคนเก่งมากเรื่องการทำ Backlinks แต่ไม่เก่งเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น ดังนั้นสำหรับนายจ้างต้องศึกษา SEO Specialist แต่ละคนให้ดีก่อนจ้าง เพราะส่วนมากสิ่งที่ SEO Specialist ถนัด มักจะมาจากความชอบสิ่งนั้น หรือทำสิ่งนั้นมานานมาก ๆ แล้วนั่นเอง


 seo specialist

ทักษะสำคัญของ SEO Specialist

  • Planning : ทักษะการวางแผนสำหรับการลงมือทุกอย่าง จุดตั้งต้นของแผนงาน เพราะสายงานนี้ต้องมีแผนงานรองรับเสมอ ไม่สามารถทำงานแบบไร้ทิศทางได้

  • Research : สิ่งที่ต้องทำเสมอคือ การวิจัย Keywords เพื่อนำมาทำ SEO ต้องวิจัยให้เป็น แบ่งหมวดหมู่ให้เป็น เพื่อผลลัพธ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้จริง

  • Analyze : การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการตีความจากแผนงานที่ทำลงไปในแต่ละเดือน เพื่อนำสิ่งที่ได้มาปรับเปลี่ยนให้แผนเดือนต่อไปดียิ่งขึ้น

  • Management : การบริหารจัดการลูกทีม และงบประมาณที่ได้รับมา โดยทั่วไป SEO Specialist มักจะมีนักเขียนเป็นลูกทีม และมีงบสำหรับใช้ในการซื้อเครื่องมือต่าง ๆ เช่น Ahrefs เป็นต้น

  • Communicate : การสื่อสารกับทีมอื่น และการรีพอร์ตในแต่ละเดือนนั้นสำคัญมาก เนื่องจากไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจการทำงานของ SEO Specialist คุณต้องสื่อสารด้วยประโยคที่เข้าใจได้ แต่ความหมายยังคงเดิม


ทีม My Boost SEO เป็น SEO Specialist แบบไหน

พวกเรามีความชำนาญในเรื่องของการทำบทความ SEO ที่ไม่ใช่แค่ถูกหลักเท่านั้น แต่ยังมีความเป็นมนุษย์สูง เราทำมากกว่าการตอบโจทย์ผู้อ่าน คือ การมอบประสบการณ์ให้ผู้อ่านศึกษาบทความของเราเพียงที่เดียว โดยที่ไม่ต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมอีก นอกจากนี้ทีมของเรายังโดดเด่นในเรื่องการทำ Modern SEO ซึ่งเป็นแนวทางสมัยใหม่ตามแบบที่ Google ต้องการ วิธีของเรายังเน้นไปที่การทำแบบ Organic มากกว่าการเรียกใช้เงินกระตุ้น หรือแก้ปัญหา นอกจากนี้ SEO Specialist ยังเต็มใจที่จะให้ข้อมูล และแนะแนวข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้เสมอแบบไม่หวงความรู้อีกด้วยครับ



4 สิ่งน่าปวดหัว ที่คนอยากเป็น SEO Specialist ต้องรู้

ตำแหน่งงานเต็มไปด้วยข้อมูลตัวเลข ความแม่นยำที่ไม่สามารถโอนเอียงข้อมูลได้ ผลลัพธ์ทุกอย่างสามารถพิสูจน์ได้ มาดูกันว่ากว่าจะประสบความสำเร็จ กว่าจะได้ผลลัพธ์ออกมา คุณอาจต้องเสี่ยงเจอปัญหาอะไรกันบ้าง


1.แผนงานที่ไม่อยู่นิ่ง

แม้ว่าคุณจะวางแผนงานเอาไว้อย่างดิบดี แต่สุดท้ายแล้ว แผนงานเหล่านั้นอาจไม่ได้ถูกนำไปใช้ได้จริงในระยะยาว เนื่องจากจำนวนของ Search Volume ที่ไม่แน่นอนในแต่ละ Keyword ยังไม่รวมสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการทำงาน เช่น เทรนด์ หรือการปรับเปลี่ยนอัลกอริทึมของ Google รวมถึงการเคลื่อนไหวของคู่แข่งที่ทำ SEO เป็นต้น ดังนั้นจะดีกว่าถ้าคุณวางแผนไกลสุดแค่ช่วง 3 เดือน หรือ 1 ไตรมาส ส่วนแผนรายปีให้วางเอาไว้แค่ภาพคร่าว ๆ จะทำให้คุณไม่เจ็บตัวมากจนเกินไปครับ


2.คนอื่นเข้าใจว่ามีเวลาว่างเยอะ

หลังจากที่วางโครงสร้าง ลงบทความ และทำงานส่วนอื่น ๆ เสริมเข้าไป ช่วงที่รอให้ผลลัพธ์เกิดขึ้น หลายคนอาจเข้าใจว่าช่วงนั้น SEO Specialist จะมีเวลาว่าง แค่นั่งรอเฉย ๆ นั่นไม่จริงเลย เพราะช่วงที่กำลังรอให้เว็บไต่อันดับ Google จะต้องมีการวางแผนเชิงเทคนิค รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับว่าคุณมีความ Specialist ในด้านไหนเป็นพิเศษ


อย่างพวกเราทีม My Boost SEO มีความพิเศษในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทำ SEO เพื่อนำไปพัฒนาเนื้อหาต่อไปในอนาคต รวมถึงการสร้างเนื้อหาที่สนใจ Users เป็นพิเศษ เน้นเนื้อหาที่มีคุณค่า แน่นอนว่าต้องวางแผน และลงมือทำระยะยาวตลอดแทบไม่มีเวลาพักเลยครับ


seo specialist ปัญหาในการทำงาน

3.ผู้บริหารไม่เข้าใจการทำงานของ Google

ปัญหาใหญ่ และเป็นปัญหาหลักที่พวกเราชาว SEO Specialist พบเจอกันมาตลอด คือ ผู้บริหาร หรือหัวหน้า ไม่เข้าใจรูปแบบการทำงานของ Google และ SEO ว่าการทำสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องใช้ระยะเวลา ไม่ใช่สิ่งที่หวังผลได้ในระยะสั้น อีกทั้งผู้บริหารหลายคนมักเข้าใจว่าการทำ SEO คือการหายอดขาย 100% ซึ่งแน่นอนว่าไม่เป็นความจริง SEO เป็นหนึ่งใน “ตัวช่วยในการหาลูกค้า” เท่านั้น ธุรกิจของคุณยังต้องการกลยุทธ์อื่น ๆ สำหรับช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าสนใจอยู่ กรณีเดียวที่ธุรกิจจะหวังพึ่งพา SEO อย่างเดียว คือ การที่บริษัทมีพนักงานน้อยมาก และบริการที่ขาย ควรเป็นบริการที่เก็บเงินแบบรายเดือนเท่านั้นจึงจะอยู่รอดได้


4.โดนไล่ออกก่อนต้นไม้จะออกผล

เมื่อนาย A เข้ามาทำ SEO ให้เว็บไซต์ที่เกิดใหม่มานาน 5 เดือน แต่เว็บไซต์เพิ่งจะเริ่มมีคนเข้าเว็บเท่านั้น แต่หัวหน้าทีมไม่เข้าใจว่าทำไมต้องรอ จึงไล่นาย A ออกไป แล้วรับนาย B เข้ามาทำงานแทน หลังจากนาย B เข้าทำงานได้ 2 เดือน ปรากฏว่าเว็บไซต์มีคนเข้ามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อาจดูเป็นเรื่องตลก แต่ผลลัพธ์ที่ออกมา คือ ความสำเร็จที่เกิดจากนาย A ได้ทำไว้ 80% เป็นอย่างน้อยครับ


เนื่องจาก SEO Specialist อย่างพวกเราจะรู้ดีว่างานแบบนี้กินเวลานานกับเว็บไซต์ใหม่ ในมุมมองของผู้บริหาร หรือหัวหน้าพวกเขาจะมองว่าทำไมต้องจ่ายเงินเดือนให้กับตำแหน่งนี้ไปเรื่อย ๆ แล้วไม่เห็นผลชัดเจน สิ่งที่พวกเราอยากตะโกนบอกคือ “เมื่อผลลัพธ์เกิดขึ้น สิ่งที่ธุรกิจจะได้รับมันมีค่ามากกว่าการตลาดรูปแบบไหน ๆ คุณแค่ต้องรอให้เป็น” เท่านั้นเองครับ หลายครั้งที่คนเก่ง SEO ต้องเสียชื่อเพียงเพราะองค์กรบางแห่งรอผลลัพธ์ไม่เป็น คิดไปเองว่าทุกอย่างต้องปุ๊บปั๊บตามต้องการ หากคุณคิดแบบนั้นคุณต้องเข้าใจด้วยว่าการทำ SEO คือ การที่เราไปขอใช้พื้นที่ของ Google และ Google ก็มีการคัดกรองที่ละเอียด และใช้เวลามากพอก่อนที่เว็บไซต์จะติดอันดับนั่นเอง


seo specialist ทำงานยังไง

วิธีเอาตัวรอดหากคุณอยากเป็น SEO Specialist

  1. ทำการปรึกษาพูดคุยให้ดีกับหัวหน้างาน ดูท่าทีว่าหัวหน้าเข้าใจหรือไม่ว่าการทำ SEO เป็นงานที่คู่กับระยะเวลา หากหัวหน้าไม่เข้าใจ เราแนะนำให้คุณถอยห่างออกมาจะดีกว่า

  2. วิเคราะห์เว็บไซต์ให้เป็นว่าควรใช้ระยะเวลาเท่าไหร่จึงจะเห็นผล โดยเว็บไซต์จะไม่ได้ใช้เวลาทำ SEO ถึง 6 เดือนเสมอไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หากคุณวางเวลาที่แม่นยำได้ และทำได้จริง คุณจะได้รับความน่าเชื่อถือเอง

  3. หาแนวทางที่ตนเองชอบทำในสายงานนี้ เพื่อบอกให้รู้ว่าตนเอง Specialist ด้านไหน เช่น การวางโครงสร้าง, การทำ Backlinks หรือการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

  4. คุณต้องเป็นมากกว่าคนทำอันดับ Google คือ คุณต้องมีสกิลที่หลากหลายในตัวเอง เช่น สามารถทำบทความเองได้ และสามารถออกแบบภาำหน้าปกเองได้ นอกจากนี้บางคนอาจเพิ่มสกิลในเรื่องของการนำข้อมูลเว็บไซต์ไปปรับหน้าเว็บเพื่อ UX ที่ดี เป็นต้น

  5. อย่าอายที่จะขอความช่วยเหลือด้านทรัพยากร คุณไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ทั้งหมด คุณอาจต้องการเครื่องมือ หรือคนช่วยงาน คุณแค่เดินไปขอหัวหน้าพร้อมเหตุผลว่าทำไมคุณถึงต้องใช้สิ่งเหล่านั้น แต่พยายามเลือกสิ่งที่ใช้ต้นทุนไม่สูง เพื่อให้มีโอกาสได้สิ่งเหล่านั้นมากกว่าการถูกปฏิเสธ

  6. ต้องบอกให้ได้ว่าทำไมกราฟยอดคลิกเข้าเว็บไซต์ถึงดรอปลงมา ไม่ดีเหมือนแต่เก่า ดังนั้นคุณจึงต้องคอยติดตามข่าวสารจาก Google และเฝ้าดูคู่แข่งอยู่เสมอ แล้วคุณจะเจอเหตุผลเอง


สรุป

SEO Specialist เป็นอาชีพเฉพาะทางในการทำอันดับใน Google แต่ละคนจะเก่ง และไม่เก่งในแต่ละด้านแตกต่างกัน แต่สิ่งที่ทุกคนต้องเจอเสมอเหมือนกัน คือ ความไม่เข้าใจในกระบวนการทำงาน และระยะเวลาที่ใช้ทำงาน แต่ถ้าหากคุณสามารถพิสูจน์ได้ว่าการรอผลลัพธ์มันคุ้มค่า ในท้ายที่สุด คุณจะสามารถจัดการกับความสงสัยที่ผู้อื่นมีต่อตัวคุณได้อย่างแน่นอน พวกเราทีม My Boost SEO ขอเอาใจช่วยครับ


 

ทีมของเรา My Boost SEO เป็นทีม SEO Specialist ชำนาญการทำ Modern SEO หรือ SEO สมัยใหม่ โดยยึดจากหลักการล่าสุดที่ Google สนใจ เพื่อให้สามารถติดอันดับได้ดี โดยไม่ใช่การทำงานแบบหุ่นยนต์ แต่เป็นการทำงานที่เน้นคุณค่า หากคุณสนใจให้ทีมของเราดูแล SEO ให้กับคุณ สามารถติดต่อสอบถามบริการทำ SEO กับเราได้นะครับ


ข้อมูลเพิ่มเติมรับทำ SEO : https://www.myboostseo.com/seo-service

เวลาเปิดทำการ

จันทร์-ศุกร์

09.00 น.-18.00 น.

อีเมล

Social Media

คุณสนใจบริการด้านไหนของเรา

© 2024 Powered and secured by Wix

bottom of page